ข้อสังเกตก่อนเริ่มพิจารณาพระสมเด็จฯ

     เนื้อพระสมเด็จที่สร้างจากเนื้อผง และมวลสาร ซึ่งมีมากชนิดด้วยกันนับจากปี พ.ศ.๒๔๑๕ ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯมรณภาพจนถึงปัจจุบันจะมีอายุอย่างน้อย 125 ปีขึ้นไป ฉะนั้นการผันแปรตามธรรมชาติของเนื้อและผิวพระจะต้องเปลี่ยนลักษณะออกไปจากเดิม ซึ่งต่างก็นิยมใช้แว่นขยายขนาดพอเหมาะในการส่องพิจารณาสังเกตการผันแปรตามธรรมชาติ แต่ก่อนที่จะศึกษาเรียนรู้พระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีหลักเกณฑ์สำคัญใหญ่ที่ต้องเข้าใจก่อน เพื่อใช้ประกอบข้อสังเกต ดังนี้

     1) ต้องทำความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสียก่อน ว่าวัตถุมงคลหลักในการนำมาสร้างพระสมเด็จที่เรียกว่า "เนื้อของพระ" อันได้แก่ ปูนเปลือกหอย ส่วนมวลสารที่นำมาผสมอันมี ผงดินสอพองขาวและเหลือง ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้ลงพระเวทย์เสกคาถาอาคมทั้ง 5 ประการอันมี  อิธิเจ ปัตถมัง ตรีนิสิงเห พุทธคุณ และมหาราช ที่เรียกกันสั้นๆว่า "ผงวิเศษ" ผงปูนโบราณ (ปูนฉาบเก่าผนังโบสถ์, เจดีย์) ข้าวสุก, พระเก่าชำรุดจากองค์เจดีย์ จ.กำแพงเพชร ตลอดถึงเกสรดอกไม้นานาชนิด และมวลสารอื่นๆอีกมากมายหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุมงคลทั้งสิ้น พระสมเด็จที่สร้างจึงมีหลายเนื้อ มวลสารที่ผสมก็ยากที่จะมีส่วนสัดที่แน่นอนตายตัว ในการพิมพ์พระแต่ละครั้งรวมทั้งวัตถุมงคลที่นำมาสร้างในแต่ละโอกาสก็ไม่เหมือนกันเลยทีเดียว มวลสารพิเศษบางชนิดอาจมีและไม่มีก็ได้ แต่มวลสารหลักที่ต้องใช้ทุกครั้งก็ยังอยู่ในหลักแนวเดียวกันทั้งสิ้น

     2) ต้องเข้าใจสภาพของผิวพระและสีที่ต้องแตกต่างกัน พระสมเด็จฯที่มีอายุการสร้างร้อยปีเศษ พระแต่ละองค์หากอยู่ในสภาวะที่ไม่เหมือนกัน สภาพ

 

E-mail : phrathaicenter@gmail.com
www.phrathaicenter.com